วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย

เขาช่องกระจก
เขาช่องกระจก
     อยู่ด้านหลังศาลากลางจังหวัด แม้จะสูงชัน แต่มีบันไดขึ้นไปจนถึงยอดเขา แต่ขึ้นไปแล้วคุ้มค่า เพราะจะได้เห็นทิวทัศน์ของตัวเมืองประจวบฯ และทางทิศเหนือของภูเขาลูกนี้มีช่องคล้ายกรอบกระจก จึงเรียกเขาช่องกระจก ที่สำคัญบนเขานี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธบาทจำลองด้วย

     พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน         


พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 
ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ที่ตำบลห้วยเหนือ อำเภอ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ตรงหลักกม.ที่ 216 เลยหาดชะอำมาเล็กน้อย เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" ลักษณะเป็นพระตำหนักไม้สองชั้น หันหน้าออกสู่ทะเล พระตำหนักฝ่ายในอยู่ปีกขวา ทางปีกซ้ายเป็นส่วนของฝ่ายหน้า ประกอบด้วยพระที่นั่งสามองค์เชื่อมต่อ ถึงกันโดยตลอด พระที่นั่งสุนทรพิมาน เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรชายา พระที่นั่ง พิศาลสาครเป็นที่ประทับของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหมู่พระที่นั่งตรงกลางประกอบด้วยห้องต่าง ๆ สำหรับสำราญพระอิริยาบถ ห้องพักข้าราชบริพารที่คอยรับใช้ใกล้ชิด ห้องทรงพระอักษร และพระที่นั่ง สโมสรเสวกามาตย์ เป็นอาคารโถงสองชั้นเปิดโล่งใช้เป็นที่ประชุมในโอกาสต่าง ๆ และเป็นโรงละคร ซึ่งเคยจัดแสดงละครครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ เรื่องพระร่วง และวิวาห์พระสมุทรในปี พ.ศ.2484 เจ้าพระยารามราฆพ ได้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายเป็นพระราชานุสรณ์ประดิษฐานไว้ ณ ท้องพระโรงพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และได้จัดงานบำเพ็ญ พระราชกุศลถวายเป็นพระราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี

     พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.00 น. สำหรับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำหนังสือถึงผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โทร. (032) 471388 , 471130












                                                   

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำนานดอกกุหลาบ

ตำนานดอกกุหลาบ


ดอกกุหลาบ                กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย

               ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติวันคริสต์มาส

ตำนานวันคริสต์มาส

          คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

          เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดย พระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้ง อาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

นกยูงไทย

 
นกยูงไทย
นกยูงไทย  
สัตว์ปีก
Green Peafowl 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pavo muticus

นกยูงไทย

นกยูงไทย

นกยูงไทย 
 

นกยูงไทย  
สัตว์ปีก
Green Peafowl 
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pavo muticus



ลักษณะทั่วไป
    
เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 102 - 245 เซนติเมตร ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีหงอนเป็นพู่สีเหลืองชี้ตรงอยู่บนหัว ต่างจากนกยูงอินเดียซึ่งเป็นรูปพัด บนหัวและคอเป็นขนสั้น ๆ สีเขียวเหลือบน้ำเงิน หน้ามีสีฟ้า ดำ และเหลือง ขนคอ หน้าอกและหลังตรงกลาง ขนมีเหลือบน้ำเงินแก่ล้อมด้วยสีเขียวและสีทองแดง นกยูงตัวผู้มีแพนขนปิดหางยาวหลายเส้น ตรงปลายมีดอกดวง "แววมยุรา" ตรงกลางดวงมีสีน้ำเงินแกมดำอยู่ภายในพื้นวงกลมเหลือบเขียว ล้อมรอบด้วยรูปไข่สีทองแดง เมื่อนกยูงรำแพนจึงเป็นรูปพัดขนาดใหญ่มีสีสันสวยงามมาก นกยูงตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย และมีเดือยสั้นกว่า ขนของตัวเมียมักมีสีน้ำตาลแดงแทรกอยู่เป็นคลื่น
      

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     นกยูงมีการกระจายพันธุ์ในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะชวา ในประเทศไทยพบในภาคเหนือและภาคตะวันตก
     นกยูงกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุก แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็ก

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     นกยูงอาศัยตามป่าทั่วไปในระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่เป็นฝูงเล็กๆ หลังช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบตัวเมียอยู่กับลูกตามลำพัง มักออกหากินในช่วงเช้าและบ่าย ตามชายป่าและริมลำธาร ตอนกลางคืนมักจับคอนนอนตามกิ่งไม้ค่อนข้างสูง
     การเกี้ยวพาราสีกันของนกยูงเริ่มเมื่อนกยูงตัวเมียหากินเข้าไปดินแดนของนกตัวผู้ ตัวผู้จะร่วมเข้าไปหากินในฝูงด้วย และแสดงการรำแพนหาง กางปีกสองข้างออกพยุงลำตัว ชูคอขึ้นแล้วย่างก้าวเดินหมุนตัวไปรอบ ๆ ตัวเมีย การรำแพนหางจะใช้เวลาประมาณ 5 - 10 นาที หากตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะย่อตัวลงให้ตัวผู้ขึ้นผสมพันธุ์ นกยูงทำรังบนพื้นดินตามที่โล่งหรือตามซุ้มกอพืช อาจมีหญ้าหรือใบไม้แห้งมารองรัง วางไข่ครั้งละ 3 - 6 ฟอง เริ่มฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว โดยใช้เวลาฟักทั้งสิ้น 26 - 28 วัน ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว สามารถยืนและเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ทันทีที่ขนแห้ง โดยลูกนกจะตามแม่ไปหากินไม่น้อยกว่า 6 เดือน จากนั้นจึงหากินตามลำพัง

สถานภาพปัจจุบัน
     นกยูงในป่าธรรมชาติค่อนข้างหายาก และปริมาณน้อย นอกจากบางแห่ง เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ยังพบได้บ่อย และปริมาณปานกลาง กฎหมายจัดให้นกยูงไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

สถานที่ชม
      สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา